เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [4. วิภังควรรค] 10. ธาตุวิภังคสูตร

ให้ทรุดโทรม ธรรมชาติที่เป็นเครื่องทำร่างกายให้เร่าร้อน ธรรมชาติที่เป็นเครื่อง
ย่อยสิ่งที่กินแล้ว ดื่มแล้ว เคี้ยวแล้ว และลิ้มรสแล้ว หรืออุปาทินนกรูปภายในอื่นใด
ที่เป็นของเฉพาะตน เป็นของเร่าร้อน มีความเร่าร้อน
นี้เรียกว่าเตโชธาตุภายใน
เตโชธาตุภายในและเตโชธาตุภายนอกนี้ ก็เป็นเตโชธาตุนั่นเอง บัณฑิตพึง
เห็นเตโชธาตุนั้นตามความเป็นจริง ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา
เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ครั้นเห็นเตโชธาตุนั้นตามความเป็นจริง ด้วย
ปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในเตโชธาตุ และทำจิตให้คลายกำหนัด
จากเตโชธาตุ
[352] วาโยธาตุ เป็นอย่างไร
คือ วาโยธาตุภายในก็มี วาโยธาตุภายนอกก็มี
วาโยธาตุภายใน เป็นอย่างไร
คือ อุปาทินนกรูปภายในที่เป็นของเฉพาะตน เป็นของพัดไปมา มีความ
พัดไปมา ได้แก่ ลมที่พัดขึ้นเบื้องบน ลมที่พัดลงเบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในลำไส้
ลมที่แล่นไปตามอวัยวะน้อยใหญ่ ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก หรืออุปาทินนกรูป
ภายในอื่นใด ที่เป็นของเฉพาะตน เป็นของพัดไปมา มีความพัดไปมา
นี้เรียกว่าวาโยธาตุภายใน
วาโยธาตุภายในและวาโยธาตุภายนอกนี้ ก็เป็นวาโยธาตุนั่นเอง บัณฑิตพึง
เห็นวาโยธาตุนั้นตามความเป็นจริง ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา
เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ครั้นเห็นวาโยธาตุนั้นตามความเป็นจริง
ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในวาโยธาตุ และทำจิตให้คลาย
กำหนัดจากวาโยธาตุ1


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [4. วิภังควรรค] 10. ธาตุวิภังคสูตร

[353] อากาสธาตุ เป็นอย่างไร
คือ อากาสธาตุภายในก็มี อากาสธาตุภายนอกก็มี
อากาสธาตุภายใน เป็นอย่างไร
คือ อุปาทินนกรูปภายในที่เป็นของเฉพาะตน เป็นสภาวะว่างเปล่า มีความ
ว่างเปล่า ได้แก่ ช่องหู ช่องจมูก ช่องปาก ช่องสำหรับกลืนของกิน ของดื่ม
ของเคี้ยว ของลิ้มรส ช่องที่พักอยู่แห่งของกิน ของดื่ม ของเคี้ยว ของลิ้ม และ
ช่องสำหรับของกิน ของดื่ม ของเคี้ยว ของลิ้ม ไหลลงเบื้องต่ำ หรืออุปาทินนกรูป
ภายในอื่นใดที่เป็นของเฉพาะตน เป็นสภาวะว่างเปล่า มีความว่างเปล่า
นี้เรียกว่าอากาสธาตุภายใน1
อากาสธาตุภายในและอากาสธาตุภายนอกนี้ ก็เป็นอากาสธาตุนั่นเอง บัณฑิต
พึงเห็นอากาสธาตุนั้นตามความเป็นจริง ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่
ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ครั้นเห็นอากาสธาตุนั้นตามความ
เป็นจริง ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในอากาสธาตุ และทำจิต
ให้คลายความกำหนัดจากอากาสธาตุ
[354] ทีนั้น วิญญาณอันบริสุทธิ์ผุดผ่อง เหลืออยู่ บุคคลย่อมรู้เรื่องอะไร ๆ
ได้ด้วยวิญญาณนั้น คือรู้ว่า ‘สุข’ บ้าง รู้ว่า ‘ทุกข์’ บ้าง รู้ว่า ‘อทุกขมสุข’ บ้าง
เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา สุขเวทนาจึงเกิด บุคคลนั้นเมื่อเสวย
สุขเวทนา ย่อมรู้ชัดว่า ‘เราเสวยสุขเวทนาอยู่’ รู้ชัดว่า ‘เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้ง
แห่งสุขเวทนานั้นนั่นแลดับ สุขเวทนาที่เกิดเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่ง
สุขเวทนา ที่เสวยอยู่อันเกิดจากผัสสะนั้นก็ดับคือสงบไป’
[355] เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ทุกขเวทนาจึงเกิด
บุคคลนั้นเมื่อเสวยทุกขเวทนา ย่อมรู้ชัดว่า ‘เราเสวยทุกขเวทนาอยู่’ รู้ชัดว่า
‘เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนานั้นนั่นแลดับ ทุกขเวทนาที่เกิดเพราะอาศัย
ผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ที่เสวยอยู่อันเกิดจากผัสสะนั้นก็ดับคือสงบไป’